การดูแลลูกไก่ ธรรมชาติของไก่พื้นบ้านนั้นเมื่อฟักลูกไก่ออกมาแล้วก็ยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกไก่ การหาอาหารตามธรรมชาติและการป้องกันอันตรายทั้งหลายจนลูกไก่จะมีช่วงอายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกไก่หากินตามอิสระแต่สำหรับการที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่จะส่งผลเสียในระหว่างการเลี้ยงดูลูกไก่แม่ไก่ก็จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิงและส่งผลให้การออกไข่ชุดต่อไปล่าช้าอัตราการตายของลูกไก่นั้นก็จะสูงขึ้น วิถีชิวิตนี้จะรู้ดีกันอยู่โดยเฉพาะเกษตรกรและนักเล่นไก่หรือคนในวงการไก่ โดยปรกติแล้วเกษตรกรหรือผู้ที่เลี้ยงไก่มักจะมองข้ามความสนใจในการดูแลเเม่ไก่และลูกไก่ เพราะบางคนอาจจะมองว่าราคาของไก่นั้นไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่นๆที่มีราคาสูง แต่อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงไก่ยอมลงทุนหันมาเอาใจใส่ ก็จะสามารถลดความสูญเสียอัตราการตายได้พอสมควร สำหรับวิธีการเลี้ยงหรืออนุบาลลูกไก่ มีดังนี้ครับ
-ต้องให้ความอบอุ่นให้เพียงพอในกรณีที่เลี้ยงเองโดยไม่มีแม่ไก่ โดยการกกไฟและอยู่ในสุ่มไม่ให้เจอละอองฝน
-ถ้าหากว่าแม่ไก่ฟักลูกไก่เองต้องขังไว้ในสุ่ม โดยไม่ให้โดนฝน เพราะการที่ไก่เลี้ยงลูกเองตามธรรมชาติจะต้องพาลูกเดินออกหากินตามสัญชาตญาณ ซึ่งอาจจะทำให้ไก่ไม่แข่งแรงได้
-ต้องมีการฉัดวัคซีนให้ไก่ และต้องฉีดให้ครบถ้วนตามกำหนดที่กรมปศุสัตว์กำหนด คือ การทำนิวตลาสเซิล การทำวัคซีนหลอดลม การทำวัคซีนหวัดหน้าบวม การทำวัคซีนอหิวาต์
สำหรับการให้วัคซีนไก่ต้องทำกับไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น หากว่าทำในไก่ที่ไม่สบายเช่นไก่เป็นหวัด ถือเป็นข้อห้ามเพราะเท่ากับว่าเรานั้นไปเพิ่มเชื้อโรคในตัวไก่ทำให้ไก่อ่อนแอบางครั้งไก่อาจจะถึงตายได้ และสำคัญคือต้องอย่าเทวัคซีนที่เหลือลงพื้นดินเพราะจะทำให้เชื้อนั้นเจริญเติบโตได้พื้นที่แฉะและจะกลายเป็นว่าแพร่เชื้อโรคให้ระบาดต่อไป
สำหรับวิธีการอนุบาลไก่ชนก็จะนำวิธีนี้มาปรับปรุงใช้ได้ในการเลี้ยงลูกไก่ชนครับ เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของลูกไก่